วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน การเขียนเพื่อการสื่อสาร
สำหรับการเรียนการสอนในรายวิชาเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อการศึกษา
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำชี้แจง  โปรดทำเครื่องหมาย x ลงในช่องว่างที่ถูกต้องที่สุด

1.       กระบวนการสื่อสารข้อใดสำคัญที่สุด
ก.    ผู้ส่งสาร
ข.    ข่าวสาร
ค.    ช่องทางหรือสื่อ
ง.     การแปลความหมาย
2.       เป้าหมายของการสื่อสารในสถานศึกษาข้อใดสำคัญที่สุด
ก.       สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างสมาชิกในสถานศึกษาและชุมชน
ข.       การโน้มน้าว ชักจูงให้ผู้อื่นเห็นด้วย ยอมรับ คล้อยตามและบรรลุจุดมุ่งหมายของการสื่อสา
ค.       ความสามารถในการสื่อสารที่หลากหลายตามโอกาสและความเหมาะสม
ง.        ถูกทุกข้อ
3.       ขั้นตอนของการเตรียมก่อนการเขียนเพื่อการสื่อสารข้อใดไม่ถูกต้องที่สุด
ก.       เลือกเรื่องที่น่าสนใจทั้งของผู้เขียนและคาดว่าผู้อ่านสนใจ
ข.       จัดลำดับตามเหตุไปสู่ผล ผลไปสู่เหตุ
ค.       การกำหนดวัตถุประสงค์และวิเคราะห์ผู้รับสาร
ง.        ไม่มีการศึกษารวมรวมข้อมูลก่อนนำงานมาเขียน
4.       หลักเกณฑ์ในการเลือกเรื่องสำหรับการเขียนขอใดควรนำมาพิจารณา
ก.       เลือกเรื่องที่ผู้เขียนไม่มีความสนใจ
ข.       เลือกเรื่องที่ให้ประโยชน์แก่ผู้อ่าน
ค.       เลือกเรื่องที่มีข้อมูลน้อยเพียงพอ
ง.        เลือกเรื่องที่มีลักษณะท้าทายจนเกินความสามารถ
5.       ความหมายของเรียงความข้อใดเหมาะสมที่สุด
ก.       การเขียนประเภทร้อยกรอง แสดงถึงเหตุผลและทัศนคติของผู้เขียน
ข.       การเขียนประเภทร้อยแก้ว แสดงความรู้สึก ความคิด ความรู้หรือประสบการณ์
ค.       การเขียนประเภทร้อยกรอง ที่มีทั้งเอกภาพและสัมพันธ์ภาพ
ง.        การเขียนประเภทร้อยแก้ว แสดงเฉพาะสารัตถภาพของผู้เขียน
6.       ความหมายของบทความข้อใดถูกต้องที่สุด
ก.        ข้อเขียนที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรู้ ความคิด
ข.        แทรกทัศนะที่ชวนคิด ชวนอ่าน
ค.        มักเป็นเรื่องที่คนกาลังสนใจ ทันเหตุการณ์
ง.        ถูกทั้งข้อ ก ข และ ค
7.       ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของบทบรรณาธิการ
ก.       การแจ้งข่าวสาร
ข.       การให้ความเพลิดเพลิน
ค.       การให้ความคิดเห็น
ง.        การทำความเข้าใจกับเนื้อหา
8.       โครงสร้างของบทบรรณาธิการข้อใดถูกต้องที่สุด
ก.       ชื่อเรื่อง – คำนำ – เนื้อเรื่อง –สรุป
ข.       ชื่อเรื่อง – คำนำ – สารบัญ – เนื้อเรื่อง
ค.       ชื่อเรื่อง – คำนำ – เนื้อเรื่อง – บรรณานุกรม
ง.        ชื่อเรื่อ – คำนำ – สารบัญ – บรรณานุกรม
9.       การเขียนบทสัมภาษณ์มีโครงสร้างการเขียนที่เป็นรูปแบบการเขียนพื้นฐานคือข้อใด
ก.       ชื่อเรื่อง ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา และส่วนสรุป
ข.       ชื่อเรื่อง ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา และส่วนสรุป
ค.       ชื่อเรื่อง ส่วนเนื้อหา ส่วนสรุป และบรรณานุกรม
ง.        ชื่อเรื่อง ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา และบรรณานุกรม
10.   การสัมภาษณ์ที่มีหลายช่วงเหตุการณ์ ซึ่งเนื้อหาเรื่องไม่ปะติดปะต่อกัน แต่คนสัมภาษณ์ต้องการเชื่อมโยงเหตุการณ์เข้าไว้ในบทสัมภาษณ์คือข้อใด
ก.     รูปแบบการเขียนบทสัมภาษณ์แบบถาม – ตอบ
ข.     รูปแบบการเขียนบทสัมภาษณ์แบบร้อยเรียง
ค.     รูปแบบการเขียนบทสัมภาษณ์แบบผสมผสาน
ง.      รูปแบบการเขียนบทสัมภาษณ์แบบรูปธรรม
11.   ความหมายของบทวิเคราะห์ข้อใดมีความถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด
ก.       ผู้เขียนจะพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เผยแพร่มาแล้วอย่างละเอียด
ข.       เพื่อให้ผู้อ่านได้ความรู้ ความคิดเห็นเพิ่มเติม
ค.       นำเอาหลักและทฤษฎีมาวิเคราะห์ข้อมูลนั้น เพื่อหาถึงสาเหตุของปัญหา
ง.        ผู้เขียนแสดงข้อเท็จจริง เหตุผล
12.   ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้องตามความหายของบทวิจารณ์
ก.       เสนอข้อมูลแบบเจาะลึก นำเอาหลักและทฤษฎีมาวิเคราะห์ข้อมูลนั้น
ข.       เป็นงานเขียนที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงานด้านศิลปกรรม งานวรรณกรรม เหตุการณ์บ้านเมือง
ค.       การให้คำตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรม โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้
ง.        บทวิจารณ์ช่วยให้ผู้อ่านทราบถึงข้อดีและข้อด้อยของสิ่งนั้นตามความคิดเห็นของผู้วิจารณ์
13.   สารคดีกับบทความข้อใดถูกต้องที่สุด
ก.       บทความเน้นการให้ทัศนะข้อคิดและข้อวินิจฉัยของผู้เขียน สารคดีนำเสนอข้อเท็จจริงเหมือนข่าว
ข.       บทความเน้นการให้ทัศนะข้อคิดและข้อวินิจฉัยของผู้เขียน สารคดีมีวัตถุประสงค์ที่จะสรุปประเด็นของเหตุการณ์ให้ผู้อ่านทราบ
ค.       บทความ เป็นบันเทิงคดีที่เป็นเรื่องแต่งขึ้น สารคดีมีวัตถุประสงค์ที่จะสรุปประเด็นของเหตุการณ์ให้ผู้อ่านทราบ
ง.        บทความเน้นการให้ทัศนะข้อคิดและข้อวินิจฉัยของผู้เขียน สารคดีมุ่งให้ข้อมูลข้อเท็จจริง และให้ความเพลิดเพลิน
14.   ข้อใดหมายถึงคุณลักษณะของสารคดี
ก.       นำเสนอเหตุการณ์ได้รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์
ข.       นักเขียนมีอิสระในการผูกเรื่อง คิดรูปแบบได้หลากหลาย
ค.       ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม อย่างไร
ง.        มีความถูกต้องครบถ้วน สมดุลและเป็นธรรม
15.   เหตุใดจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น หมายถึงข้อใด
ก.       How
ข.       What
ค.       Who
ง.        Why
16.   โครงสร้างของข่าวและการใช้ภาษาข้อใดถูกต้องที่สุด
ก.       พาดหัวข่าวความนำข่าว – ส่วนเชื่อมความนำข่าวกับเนื้อเรื่อง – เนื้อเรื่องหรือเนื้อข่าว
ข.       พาดหัวข่าว ส่วนเชื่อมความนำข่าวกับเนื้อเรื่องความนำข่าว – เนื้อเรื่องหรือเนื้อข่าว
ค.       พาดหัวข่าวความนำข่าว – เนื้อเรื่องหรือเนื้อข่าว – ส่วนเชื่อมความนำข่าวกับเนื้อเรื่อง
ง.        พาดหัวข่าว ส่วนเชื่อมความนำข่าวกับเนื้อเรื่อง – เนื้อเรื่องหรือเนื้อข่าว ความนำข่าว
17.   หลักการแนวการเขียนข่าววิทยุโทรทัศน์ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก.    ส่วนวรรคนำ บอกสาระสำคัญของข่าว และยังจะทำหน้าที่เสมือนหัวข้อข่าว เพื่อโปรยว่ามีอะไรน่าสนใจ
ข.       ส่วนวรรคนำ เป็นการขยายรายละเอียดของข่าวสั้นๆ ไม่เกิน 1-2 นาที
ค.       ส่วนเนื้อหาข่าว บอกสาระสำคัญของข่าว และยังจะทำหน้าที่เสมือนหัวข้อข่าว
ง.        ส่วนเนื้อหาข่าว ทำหน้าที่เสมือนหัวข้อข่าว ขยายรายละเอียดของข่าว
18.   ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียนข่าววิทยุกระจายเสียง
ก.       เพื่อสร้างแรงจูงใจ เร้าใจ หรือดึงดูดใจ
ข.       มีความหมายจบในประโยค เข้าใจง่าย
ค.        สื่อวิทยุที่เป็นสื่อทีมีความผูกพันกับเวลา
ง.         การเขียนข่าวทางวิทยุจึงควรเป็นประโยคสั้นๆ
19.   ข้อใดแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างของข้อความโฆษณา
ก.       หัวเรื่องและหัวเรื่องรอง – ส่วนสนับสนุน – ส่วนเนื้อหา – ส่วนปิดท้าย
ข.       หัวเรื่องและหัวเรื่องรอง – ส่วนเนื้อหา – ส่วนสนับสนุน – ส่วนปิดท้าย
ค.       ส่วนเนื้อหา – ส่วนสนับสนุน – ส่วนปิดท้าย
ง.        หัวเรื่องและหัวเรื่องรอง – ส่วนเนื้อหา – ส่วนสนับสนุน
20.   ข้อใดไม่เป็นจริง
ก.    การโฆษณาทางโทรทัศน์ ล้วนมีความจำกัดจำนวนเวลา ดังนั้นคำทุกคำที่ใช้ก็ต้องให้มีคุณค่า
ข.       ภาพโฆษณาที่ปรากฏต่อสายตาผู้ชม ไม่ควรดูราบรื่น แต่ควรจะมีความเด่นบ้าง แต่อย่าให้ดูขัดตา
ค.       เพื่อให้ได้รับความนิยม ความร่วมมือ ความเข้าใจ และการสนับสนุนจากกลุ่มคนเป้าหมาย
ง.     ควรวางการเคลื่อนของสายตาให้ผู้ชมดูสบาย ไม่สับสนกำหนดความต่อเนื่องของภาพ และอักษรที่ใช้อย่างเหมาะสม

จงตอบด้านล่างข้อ 21 – 22 ให้ถูกต้องสมบูรณ์
ก.       การเขียนเพื่อบอกกล่าวให้ทราบหรือให้เข้าใจ
ข.       การเขียนเพื่อให้ประชาชนยอมรับ
ค.       การเขียนเพื่อป้องกันและแก้ไขความเข้าใจผิด
ง.        การเขียนเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี
21.   การเขียนถึงส่วนดีของหน่วยงาน ให้เห็นชัดเจนถึงการดาเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย
22.   เป็นเครื่องมือทำให้กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจที่ถูกต้องต่อหน่วยงาน โดยไม่หลงเชื่อในข่าวลือที่อาจจะส่งผลร้ายต่อการดาเนินงาน
23.   การสร้างโครงเรื่องของเรื่องสั้นข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.       โครงเรื่องต้องมีความสับสนวุ่นวาย มีปัญหาต้องแก้ไข
ข.       เรื่องที่เขียนจะต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ให้ข่าวสารที่ถูกต้อง
ค.       การดำเนินเรื่อง จะไม่ราบรื่น หากแต่ต้องมีอุปสรรคทำให้เรื่องสนุก
ง.        ปมนั้นค่อยๆคลี่คลาย จนถึงจุดสุดยอดของเรื่อง
24.   ข้อใดถูกต้องที่สุดในการเขียนเรื่องสั้น
ก.       เริ่มเรื่อง บทนำ และจบเรื่อง
ข.       เริ่มเรื่อง ดำเนินเรื่องสู่จุดของความขัดแย้ง และจบเรื่อง
ค.       ดำเนินเรื่องสู่จุดของความขัดแย้ง บทนำ เริ่มเรื่อง
ง.        บทนำ เริ่มเรื่อง จบเรื่อง
25.   ข้อใดไม่ได้กล่าวถึงความขัดแย้งของโครงเรื่องนิยาย
ก.        ขัดแย้งระหว่างตัวละครกับตัวละคร
ข.        ตัวละครขัดแย้งกับสภาพแวดล้อมหรือสังคม
ค.        ตัวละครขัดแย้งภายในจิตใจของตัวเอง
ง.        ตัวละครไม่มีความขัดแย้งกับกับสิ่งต่างๆ
26.   ข้อใดไม่ได้หมายถึงมุมมองแบบจำกัดของการถ่ายทอดเรื่องราว
ก.       ฉันกำลังคุยโทรศัพท์เรื่องสอบถามการเดินทาง
ข.       สมพรกำลังเดินไปที่ร้านขายดอกไม้
ค.       พวกเรากำลังจะไปเที่ยวน้ำตก
ง.        ข้าพเจ้าออกไปรายงานหน้าชั้นเรียน

จงตอบด้านล่างข้อ 27 – 28 ให้ถูกต้องสมบูรณ์
ก.    ผู้บรรยายหลายคน บรรยายเป็นช่วงสั้นๆตามประเด็นคำถาม
ข.    แสดงสถานการณ์จำลองสั้นๆ ให้ดูสมจริง
ค.       มีลักษณะเป็นอัดเสียงโดยไม่ปรากฏตัวผู้บรรยาย ภาพและเสียงที่บรรยายต้องสัมพันธ์กัน
27.   รูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์แบบอภิปราย
28.   รูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์แบบแสดงบทบาท
29.   ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
ก.       ไม่มีมีรูปแบบการบังคับในการแต่งบทร้อยกรอง
ข.       คำประพันธ์ที่แต่งขึ้นอย่างสละสลวย มีความไพเราะ เรียกว่าฉันทลักษณ์
ค.       คำประพันธ์เลือกใช้คำให้ถูกต้องมีความหมายชัดเจน
ง.        การเขียนไม่ควรมีสัมผัสการแต่งมากนัก
30.   ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องในการแต่งบทร้อยกรอง
ก.       สัมผัสอักษร คือ การสัมผัสระหว่างคำในแต่ละวรรค
ข.    การเขียนคำให้คล้องจองเมื่ออ่านแล้วทำให้เกิดความไพเราะ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเขียนร้อยกรอง
ค.    ฉันทลักษณ์ คือ รูปแบบการบังคับในการแต่งบทร้อยกรอง
ง.        ผลงานที่จัดเป็นกวีนิพนธ์เรียกว่า บทกวี



2 ความคิดเห็น: